ทีมงานคุณภาพ

เรามีทีมวิศวกรและช่างที่มีความรู้และชำนาญการในด้านการประเมินแสงแดดและติดตั้งระบบ
สามารถให้ข้อมูลลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

ประหยัดคุ้มค่า

การประหยัดเงินได้ ก็เท่ากับการมีรายได้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้านช่วยให้คุณประหยัดเงินโดยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้ารายเดือน การลงทุนติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นการลงทุนระยะยาว ด้วยผลกำไรที่สูงและแน่นอน แผงโซลาร์เซลยังเป็นตัวเพิ่มมูลค่าให้แก่บ้านและตัวอาคาร สำหรับธุรกิจการเช่าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

เงื่อนไขการรับประกัน
* 20 Years Product warranty, 20 Years power output
** มีเฉพาะใน size M ขึ้นไป
*** ประกันงานติดตั้ง 6 เดือน โดยทีมงานช่างของบริษัท


เพียง 4 ขั้นตอนง่ายๆ

ติดต่อเรา รับคำปรึกษา

สำรวจ ออกแบบ และเสนอราคา

ติดตั้ง จนถึงเริ่มใช้งานระบบ

ดูแล และบำรุงรักษาระบบ


ออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

1. On-Grid หรือ Utility Interconnected SystemSystem ระบบโซลาร์เซลล์ แบบออนกริด

    On-grid System ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออนกริด เป็นระบบโซลาร์เซลล์ แบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าระบบนี้ จะมีแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับกำเนิดไฟฟ้า จ่ายไฟให้กับกริดไทอินเวอร์เตอร์ แปลงจากไฟกระแสตรง เป็นไฟกระแสสลับ ต่อกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ร่วมกับระบบไฟจากการไฟฟ้า

    จุดเด่นของระบบออนกริด บ้านที่ติดตั้งระบบออนกริด จะมีแหล่งจ่ายไฟ 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และอีกทางหนึ่งจากโซลาร์เซลล์ ระบบไฟที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ จะแปลงไฟโดยอินเวอร์เตอร์ และสามารถต่อไฟร่วมกับ ระบบไฟจากการไฟฟ้าได้ ไม่ต้องทำระบบสลับไฟใดๆทั้งสิ้น สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด โดยไม่ใช้แบตเตอรี่ ระบบนี้ไม่ต้องคำนึงว่า Load ในบ้านใช้งานมากน้อยเพียงใด ระบบไฟโซลาร์เซลล์ จะช่วยลดค่าไฟลงบางส่วนเท่านั้น ตามกำลังที่ผลิตได้ หากใช้ไฟมากกว่าระบบโซลาร์ผลิตได้ จะไปดึงไฟจากการไฟฟ้านำมาใช้ ระบบนี้สามารถติดชุดใหญ่ หรือชุดเล็ก ตามงบประมาณ แต่ควรคำนวณขนาดให้เหมาะสม อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด จะทำงานเมื่อมีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ และมีไฟจากการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ เป็นไฟฟ้าที่ได้มาใช้ฟรี ตอนเย็นใกล้ค่ำโวลท์ของแผงโซลาร์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อต่ำถึงเกณฑ์ที่กำหนด อินเวอร์เตอร์จะปิดตัวลงอัตโนมัติ รอรุ่งเช้าของวันใหม่ เมื่อมีแสงสว่าง โวลท์ของแผงโซลาร์จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้อินเวอร์เตอร์กลับมาทำงานอีกครั้ง

    จุดด้อยของระบบออนกริด ระบบไฟจะไม่สามารถใช้งานกลางคืนได้ กลางคืนจะใช้ไฟจากการไฟฟ้า สำหรับตอนกลางวัน หากไฟจากการไฟฟ้าดับลง อินเวอร์เตอร์จะหยุดการทำงานไปด้วย ถึงแม้ว่าแผงโซลาร์ยังสามารถผลิตไฟได้ก็ตาม เพื่อป้องกันไฟย้อนไปดูดเจ้าหน้าที่ ที่กำลังซ่อมบำรุง

    การใช้งานระบบนี้ เหมาะสำหรับสถานที่มีไฟฟ้าใช้ ต้องการประหยัดค่าไฟ หรือลดค่าไฟฟ้า และไม่ควรติดตั้งตัวใหญ่เกินการใช้งาน เนื่องจากไฟที่เหลือใช้ จะจ่ายคืนให้กับการไฟฟ้า(นำไปขายให้บ้านอื่น) ทางการไฟฟ้าจะไม่คำนวณเงินคืนให้ แต่จะคิดเงินเฉพาะส่วนที่เราใช้ไฟจากการไฟฟ้า

อุปกรณ์สำหรับ On-grid System

    เป็นอุปกรณ์เบื้องต้น สำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ แบบเชื่อมต่อสายส่งการไฟฟ้า

  • กริดไท อินเวอร์เตอร์   
  • แผงโซลาร์เซลล์
  • กล่องเบรคเกอร์ คอนโทรล DC AC Surge Protection
  • อุปกรณ์ยึดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา
  • สายไฟโซลาร์เซลล์ PV1-F ข้อต่อสาย MC4

2. Off-Grid หรือ Stand Alone System ระบบโซลาร์เซลล์ แบบออฟกริด

    Stand Alone System ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบแสตนด์อโลน เป็นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดผลิตไฟฟ้าใช้เอง เป็นสถานที่ ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่แล้ว การฟลิตไฟฟ้าระบบนี้ จะมีแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับกำเนิดไฟฟ้า สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าแบบ DC ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่เท่ากัน หรือสามารถแปลงไฟฟ้า ด้วยอินเวอร์เตอร์ จากไฟกระแสตรง เป็นไฟกระแสสลับ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ตามบ้านเรือน ขนาด 220V ได้

ระบบแสตนด์อโลน มีการต่อไฟฟ้าตามแบบต่างๆ ดังนี้

ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง DC

    ไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ สามารถต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง DC เช่น ระบบปั๊มน้ำกระแสตรง แรงดัน 12V หรือ 24V ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้งานตอนกลางวันเท่านั้น

ต่อเข้ากับแบตเตอรี่และอุปกรณ์ไฟฟ้า DC

    ไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ จะต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และจ่ายไฟให้กับโหลดกระแสตรง ข้อดีของการต่อระบบแบบนี้ คือเมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ เราก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ จ่ายให้กับโหลดได้ สิ่งที่ต้องระวัง คือการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่มากเกินไป อาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว และระวังการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ อย่าให้คลายประจุมากเกินกว่า สเปคของเบตเตอรี่ ซึ่งทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วเช่นกัน การต่อแบบระบบนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ใช้กับงานหรือเรือขนาดเล็ก กระท่อมขนาดเล็ก หรือระบบส่องสว่าง หรือไฟกระพริบงานจราจร

ต่อเข้าเครื่องควบคุมประจุ เพื่อจ่ายไปยังแบตเตอรี่และอุปกรณ์ไฟฟ้า DC

    ไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ จะต่อเข้ากับเครื่องควบคุมการชาร์จประจุให้กับแบตเตอรี่ และจ่ายไฟให้กับโหลดกระแสตรง ระบบนี้สามารถควบคุมการไหลของประจุไฟ ที่เข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้ และจะหยุดการชาร์จ เมื่อไฟที่เก็บในแบตเตอรี่ มีแรงดันเกินกว่าที่ตั้งค่ากำหนดไว้ จึงทำให้แบตเตอรี่มีอายุที่ยาวนานมากขึ้น การต่อแบบระบบนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไป เป็นการใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หลังจากผ่านเครื่องควบคุมประจุแล้ว อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นแบบกระแสตรง DC 12V หรือ 24V เชั่นปั๊มน้ำ หรือหลอดไฟ

ต่อเข้าเต็มระบบ เครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ แปลงไฟฟ้าเป็น AC

    ไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ จะต่อเข้ากับเครื่องควบคุมการชาร์จประจุให้กับแบตเตอรี่ และต่อไฟให้กับ อินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงไฟจากไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อใ้ช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้ โดยไฟกระแสตรงที่ออกจากแบตเตอรี่ ก็ยังสามารถจ่ายให้กับโหลดกระแสตรงได้อีกด้วย ระบบแบบนี้มีข้อดีคือ มีความยืดหยุ่นในการหาเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้งาน เพราะโดยทั่วไปแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ จะใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ AC 220V เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าบ้าน เช่น พัดลม คอมพิวเตอร์ ทีวี และใข้ระบบไฟส่องสว่างกับไฟกระแสตรงก็ได้

การต่อแบบระบบนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ใช้กับบ้านพักอาศัยที่ห่างไกลผู้ผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง รวมทั้ง ประยุกต์ใช้กับในพื้นที่ ที่ไม่ต้องการลากสายไฟฟ้า เพราะมีต้นทุนเรื่องสายไฟฟ้าที่มีราคาสูงได้อีกด้วย

3. Hybrid Off-grid System ระบบโซลาร์เซลล์ แบบไฮบริด

     Hybrid Off-grid System ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบไฮบริด โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านที่ต้องการใช้ไฟระบบนี้ จะต่อจาก AC output อินเวอร์เตอร์เท่านั้น โดยไม่ต่อกับไฟจากการไฟฟ้า จะทำงานโดยมีแบตเตอรี่ เก็บสำรองไฟ มีแผงโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้า เพื่อชาร์ตไฟลงแบตเตอรี่ ไฮบริดอินเวอร์เตอร์จะแปลงจากแบตเตอรี่ หรือจากแผงโซลาร์เซลล์ เป็นไฟกระแสสลับ เพื่อนำไปใช้งาน

    ระบบไฮบริด จึงเหมาะกับสถานที่สำคัญ ที่ไฟดับบ่อยแต่ต้องการมีไฟใช้ หรือสถานที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ห้องเย็น ห้องฉุกเฉิน ระบบพึ่งพาตนเอง ไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้า แต่ยังมีไฟจากการไฟฟ้าเป็นระบบไฟสำรอง ในการชาร์ต ในการบายพาส

    ผู้ที่ติดตั้งระบบนี้ ควรรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต่อ output จากอินเวอร์เตอร์ ไม่เกินกำลังที่ผลิตได้


คำถามที่พบบ่อย

1. อยากติดระบบโซลาร์เซลที่บ้านเพื่อลดค่าไฟฟ้าจะคุ้มหรือไม่?
ตอนนี้การติดตั้งระบบโซลล่าเซลล์ ตามบ้านพื่อประหยัดไฟฟ้าถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ด้วยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อวัตต์ และเนื่องจากราคาแผงโซลาร์เซลและอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆมีราคาถูกลงกว่าแต่ก่อน จึงทำให้ระยะเวลาคืนทุนไวขึ้นโดยเฉลี่ย 4-5 ปี และยังจะสามารถใช้ได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ปีเลยทีเดียว

2. ทำอย่างไรให้คุ้มทุนอย่างรวดเร็ว?
ระบบโซลาร์เซลล์สำหรับการผลิตไฟฟ้า เราไม่สามารถควบคุม เกี่ยวกับแสงแดดได้ ให้มียาวนานแค่ไหน แต่เราสามารถกำหนดได้ เรื่องอุปกรณ์ในการติดตั้ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ต่างๆ สำเร็จรูป สามารถเลือกได้ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดบ้าง ทำให้งบการติดตั้งไม่บานปลายเหมือนการก่อสร้างอื่นๆ สามารถเลือขนาดได้เอง โดยดูจากยูนิตการใช้ไฟ เพื่อเลือกชุดที่เหมาะสม

3. โซล่าเชลล์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรได้บ้าง?
ตอบได้เลยว่าใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดและเมื่อติดตั้งระบบเสร็จแล้วสามารถเปิดระบบใช้ได้และลดค่าไฟฟ้าได้ทันที

4. อยากทรามวิธีการคิดคำนวนการใช้ไฟฟ้าในแต่ล่ะวันจะคิดอย่างไร?
ก่อนอื่นเราต้องรวบรวมรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน เช่น มีทีวี1เครื่องขนาด150 วัตต์ ต้องการใช้ วันละ 6 ชวั โมงจะเท่ากับ 150 x 6 = 900 วัตต์, หลอดไฟฟ้า LED ขนาด 10 วัตต์ ต้องการใช้ วันละ 8 ชั่วโมง มี 10 หลอดจะเท่ากับ 10 x 8 x 10 = 800 วัตต์ รวมแล้ว 1 วันเราจะใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 900 + 800 = 1,700 วัตต์

หลังจากทราบค่ากําลังไฟฟ้ารวมที่ต้องการ ในแต่ล่ะวันแล้ว เราก็จะสามารถคํานวณค่าใช้จ่ายในต่าล่ะเดือนได้เช่น 1 วันใช้ไป 1,700 วัตต์ 30 วันหรือ 1 เดือนจะเท่ากับ 30 x 1,700 เท่ากับ 51,000 วัตต์หรือคิดเป็นหน่วยจะได้ 51 หน่วย คิดเป็นเงินโดยประมาณต่อเดือน จะเท่ากับ 51 x 4.5 = 229.50 บาท / เดือน

5. การต่อพวงขนานกับไฟฟ้าคืออะไร?
การเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เพราะไฟฟ้าเป็นพลังงานควบคุมที่ต้องมีการแจ้งให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบตามข้อกำหนดและระเบียบจากทางราชการ

6. ในบางวันใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าที่ผลิตได้ มิเตอร์หมุนย้อนกลับหรือไม่?
โดยปกติแล้ว มิเตอร์ไฟ้้ฟ้าที่ติดตั้งตามบ้านทั่วไป จะเป็นมิเตอร์ธรรมดาหมุนย้อนกลับได้ เนื่องจากมีราคาถูก สำหรับมิเตอร์ที่หมุนย้อนกลับไม่ได้ คือมิเตอร์แบบดิจิตอล และมิเตอร์มีระบบล็อกการหมุนย้อนกลับ ผู้ที่ติดตั้งระบบเพื่อขายไฟให้ไฟฟ้า จะต้องเปลี่ยนมิเตอร์ใช้ไฟแบบหมุนกลับไม่ได้ และติดตั้งมิเตอร์ตัวใหม่เพื่อขายไฟให้การไฟฟ้า และการติดตั้งเพื่อขายไฟให้ไฟฟ้า จะต้องมีวิศวกรรับรอง     แต่สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ต้องการติดตั้งเพื่อลดค่าไฟ ตอนกลางวันใช้ไฟน้อยมิเตอร์อาจหมุนย้อนกลับ กลางคืนใช้ไฟมาก มิเตอร์หมุนเดินหน้าปกติ เฉลี่ยทั้งเดือนยูนิตการใช้ไฟจะลดลงเป็นอย่างมาก หรือใช้ไฟจากการไฟฟ้าน้อยลง รายละเอียดกรุณาสอบถามเพิ่มเติม

7. ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าอย่างไร
ทางเจ้าของบ้าน ต้องติดต่อทางการไฟฟ้า เพื่อยื่นเรื่อง รอโควต้าการเปิดรับรอบต่อไป เสียค่าธรรมเนียมการตรวจสอบการติดตั้ง ติดมิเตอร์สำหรับการขายไฟฟ้า และพื้นที่ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ต้องมีมากเพียงพอ เพื่อให้ได้กำลังการผลิตมากกว่า การใช้งานในแต่ละวัน     สำหรับเราแล้ว คิดว่าติดตั้งระบบเพื่อลดค่าไฟจะคุ้มกว่า ไม่ต้องลงทุนสูงเกินความจำเป็น ทั้งสเปคที่สูงและค่าธรรมเนียมต่างๆมากมาย รวมถึงนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้า ของทางการไฟฟ้าที่ยังไม่เปิดเสรี ยังมีโคต้าในรับซื้อ และมีลิมิตในการรับซื้อเช่น 20 ปี   แต่จะคุ้มมากหากเป็น หอพัก อาพาร์ทเม้นท์ หากติดตั้งระบบไฟฟ้า แล้วขายไฟฟ้าให้กับผู้เช่าห้อง ได้กำไรเต็มๆ เนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้เอง ลดการซื้อไฟจากการไฟฟ้า